แบบคำขอรับบริการออนไลน์ เทศบาลตำบลบางกระบือ




คลิ๊กที่นี่

 

8 ข้อ สอนลูกให้ปลอดภัยไม่ตกเป็นเหลื่อล่วงละเมิดทางเพศ พ่อแม่ผู้ปกครองควรสอนลูก

 
 
รูปภาพ
 

 

8 เทคนิค สอนลูกให้ปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อล่วงละเมิดทางเพศ

8 เทคนิค สอนลูกให้ปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อล่วงละเมิดทางเพศ

8 เทคนิค สอนลูกให้ปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อล่วงละเมิดทางเพศ

  1. สอนให้รู้จักร่างกาย บอกให้ลูกเรียนรู้เรื่องอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงอวัยวะเพศ ช่วงที่เด็กเริ่มเรียกอวัยวะได้ สอนเรียกอวัยวะเพศโดยใช้ชื่อที่เด็กเข้าใจ ไม่ต้องเป็นชื่อทางการ แต่เมื่อถึงวัยที่ลูกรู้ ความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกเรียกด้วยคำที่ถูกต้อง เพราะเมื่อเกิดปัญหาและลูกต้องการบอกเล่า การใช้คำทางการทำให้มีความเข้าใจตรงกัน อธิบายเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง
  2. บอกพื้นที่ส่วนตัว บอกลูกว่าส่วนไหนบนร่างกายที่คนอื่นห้ามสัมผัส ห้ามจ้องมอง ห้ามถ่ายรูป เช่น หน้าอก อวัยวะเพศ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำสิ่งนี้กับลูกได้ ส่วนไหนบนร่างกายที่พ่อแม่เท่านั้นที่สัมผัสได้ และเมื่อลูกโตเป็นหนุ่มสาวแล้วพ่อแม่ต้องคอยดูแล แนะนำ โดยให้ระมัดระวังการสัมผัสร่างกายของลูก และให้ลูกมีพื้นที่ส่วนตัว เช่น การแยกห้องนอน
  3. เน้นย้ำสิทธิในร่างกายตัวเอง ย้ำกับลูกเสมอว่าลูกมีสิทธิในร่างกายของลูกคนเดียวเท่านั้น หากไม่ยอมให้ใครมาสัมผัส ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิมาสัมผัส นอกจากการสัมผัสเพื่อทำความสะอาดหรือการรักษาจากแพทย์ หากใครมาสัมผัสแล้วรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ ต้องกล้าบอกไปว่าไม่ชอบหรือไม่พอใจ
  4. สอนให้รู้จักปฏิเสธ ถ้ามีคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่มาสัมผัสพื้นที่สงวนของร่างกาย สอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธ ต้องพูดไปเลยว่า “ไม่ได้” และอาจจะส่งเสียงขอความช่วยเหลือดัง ๆ และวิ่งหนีออกมาไม่ต้องเกรงใจ
  5. บอกสัมผัสที่ปลอดภัย บอกลูกว่าสัมผัสแบบใดคือสัมผัสที่ปลอดภัย สามารถทำได้ เช่น สัมผัสของ พ่อแม่ ญาติ พี่เลี้ยง จำเป็นต้องช่วยลูกในการทำความสะอาดร่างกาย สัมผัสของแพทย์เพื่อตรวจรักษาร่างกาย แต่บอกลูกว่าพ่อแม่จะอยู่ด้วยเสมอ หรือบางครั้งการสัมผัสของครูในวิชาเรียนบางอย่างอาจต้องมีการสัมผัสกันเล็กน้อย
  6. อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า สอนลูกว่าอย่าไว้ใจคนเเปลกหน้าที่มาคุยเด็ดขาด ถึงเเม้คนเหล่านั้นจะเอาขนมมาให้กินอย่ากินเด็ดขาด หรืออ้างว่ารู้จักกับพ่อเเม่ก็ตาม ไม่ต้องเกรงใจแม้ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นคนที่เด็กเคารพก็ตาม เนื่องจากคนที่ทำอนาจารบางครั้งอาจจะเป็นคนใกล้ชิด
  7. ไม่ใจอ่อนหรือปิดบัง กำชับลูกเสมอว่า ไม่ว่าคนที่ทำลูกจะขอร้องหรือขู่อย่างไร หากลูกไม่พอใจในสิ่งที่ถูกกระทำ ลูกต้องบอกพ่อแม่ทันที ไม่ต้องปิดเป็นความลับ ไม่มีใครทำอะไรลูกได้เด็ดขาด เพื่อให้ลูกมั่นใจว่าพ่อแม่สามารถปกป้องเขาได้
  8. พูดคุยกับลูกเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ หาบรรยากาศสบาย ๆ สอนให้ลูกเข้าใจตนเอง และความหมายการล่วงละเมิด สิทธิที่จะปกป้องตัวเอง หากลูกสงสัยจะได้ถามพ่อแม่ได้ตรง ๆ ไม่รู้สึกกดดัน เพื่อที่ลูกเกิดความวางใจและมั่นใจ

 

6 ขั้นตอน รับมือเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ จากกรมอนามัย

6 ขั้นตอน รับมือเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ

6 ขั้นตอน รับมือเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ

  1. ตั้งสติ การตั้งสติโดยไม่แสดงอาการตกใจ โกรธ เสียใจ จะทำให้เด็กอยากเล่าเหตุการณ์ และเกิดความมั่นใจว่าเราสามารถช่วยเหลือเขาได้ และต้องดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่เด็กด้วย ในทางกลับกันหากแสดงท่าทีตกใจ โกรธ อาจจะทำให้เด็กกลัวที่จะได้รับความเดือดร้อน และไม่มั่นใจว่าเราสามารถช่วยเหลือเขาได้
  2. รับฟัง ไม่ขัดหรือโต้แย้งเด็ก เมื่อเด็กแสดงท่าทีอยากเล่าเรื่องราวที่รู้สึกหรือเป็นปัญหา ให้รับฟังและไม่ไม่ควรผัดผ่อน จะทำให้เด็กเกิดความเชื่อใจว่าเราสามารถช่วยเหลือได้
  3. ถามหาผู้กระทำ ถ้าเด็กไม่พร้อมที่จะบอกว่าผู้กระทำเป็นใคร ให้ใช้วิธีการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อนหน้าที่เด็กจะถูกกระทำ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้กระทำ หรือความสัมพันธ์ของผู้กระทำกับเด็กเท่าที่จะจำได้ โดยหลีกเลี่ยงการคาดคั้นข้อมูลจากเด็ก
  4. เก็บหลักฐาน รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าที่เด็กใส่ขณะถูกล่วงละเมิดทางเพศ ขนเพชร ก้นบุหรี่ ถุงยางอนามัย ภาพถ่ายร่องการถูกกระทำ หรืออื่น ๆ ที่ผู้กระทำผิดทิ้งไว้เป็นหลักฐาน และห้ามชำระร่างกายเด็กก่อนตรวจรักษาเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ไม่พบร่องรอยที่จะเป็นหลักฐานในการเอาผิดผู้กระทำ
  5. ขอความช่วยเหลือ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น สายด่วน 191 หรือ สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 โดยบอกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้กระทำ เวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ หรือข้อมูล อื่น ๆ เท่าที่ทราบ
  6. ตรวจรักษา หากเด็กถูกกระทำมาเป็นเวลาหลายวัน ควรนำเด็กไปตรวจรักษาเพื่อป้องกันโรคติดต่อและตรวจสอบการตั้งครรภ์

 

6 ขั้นตอน รับมือเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ

6 ขั้นตอน รับมือเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ

6 ขั้นตอน รับมือเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ

  1. ตั้งสติ การตั้งสติโดยไม่แสดงอาการตกใจ โกรธ เสียใจ จะทำให้เด็กอยากเล่าเหตุการณ์ และเกิดความมั่นใจว่าเราสามารถช่วยเหลือเขาได้ และต้องดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่เด็กด้วย ในทางกลับกันหากแสดงท่าทีตกใจ โกรธ อาจจะทำให้เด็กกลัวที่จะได้รับความเดือดร้อน และไม่มั่นใจว่าเราสามารถช่วยเหลือเขาได้
  2. รับฟัง ไม่ขัดหรือโต้แย้งเด็ก เมื่อเด็กแสดงท่าทีอยากเล่าเรื่องราวที่รู้สึกหรือเป็นปัญหา ให้รับฟังและไม่ไม่ควรผัดผ่อน จะทำให้เด็กเกิดความเชื่อใจว่าเราสามารถช่วยเหลือได้
  3. ถามหาผู้กระทำ ถ้าเด็กไม่พร้อมที่จะบอกว่าผู้กระทำเป็นใคร ให้ใช้วิธีการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อนหน้าที่เด็กจะถูกกระทำ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้กระทำ หรือความสัมพันธ์ของผู้กระทำกับเด็กเท่าที่จะจำได้ โดยหลีกเลี่ยงการคาดคั้นข้อมูลจากเด็ก
  4. เก็บหลักฐาน รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าที่เด็กใส่ขณะถูกล่วงละเมิดทางเพศ ขนเพชร ก้นบุหรี่ ถุงยางอนามัย ภาพถ่ายร่องการถูกกระทำ หรืออื่น ๆ ที่ผู้กระทำผิดทิ้งไว้เป็นหลักฐาน และห้ามชำระร่างกายเด็กก่อนตรวจรักษาเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ไม่พบร่องรอยที่จะเป็นหลักฐานในการเอาผิดผู้กระทำ
  5. ขอความช่วยเหลือ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น สายด่วน 191 หรือ สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 โดยบอกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้กระทำ เวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ หรือข้อมูล อื่น ๆ เท่าที่ทราบ
  6. ตรวจรักษา หากเด็กถูกกระทำมาเป็นเวลาหลายวัน ควรนำเด็กไปตรวจรักษาเพื่อป้องกันโรคติดต่อและตรวจสอบการตั้งครรภ์

 

ผู้ปกครองควรสอนลูกป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

ล่วงละเมิดทางเพศ

สอนลูกป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง ไม่มีทางรู้เลยว่า การละเมิดเด็ก จะมาในรูปแบบไหน จากใครได้บ้าง ดังนั้นเราควรสอนลูกให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ และวิธีการป้องกันตนเอง เพื่อช่วยปกป้องลูกน้อยจากการถูกคุกคาม

  1. สอนให้ลูกรู้จักร่างกายของตนเอง
    เมื่อลูกเข้าสู่วัย 2-3 ขวบ เด็กจะเริ่มเรียกชื่อได้ และเริ่มรู้จักสงสัยในความแตกต่างของร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักชื่ออวัยวะด้วยคำง่ายๆ เช่น อวัยวะเพศของผู้ชายเรียก จู๋ ของผู้หญิงเรียก จิ๋ม หรือในส่วนอื่นๆ อย่าง ก้น, นม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่คำหยาบคายหรือเรื่องน่าอาย แต่เพื่อให้ลูกสามารถสื่อสารได้เข้าใจเมื่อเกิดเหตุการณ์ เด็กถูกละเมิด เกี่ยวกับร่างกายโดยคุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักพื้นที่ส่วนตัว”ไม่ปล่อยให้ใครมาสัมผัสร่างกายเราโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การหอมแก้ม จุ๊บปาก จับร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ อวัยวะในร่มผ้า ที่ไม่ควรปล่อยให้ใครมาแตะต้อง ซึ่งเมื่อเด็กเริ่มเจริญวัยก็มีบางจุดเองอย่างบริเวณก้น หน้าอก อวัยวะเพศ ที่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรสัมผัสลูกเช่นกัน (ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับบริบทของครอบครัวและความเหมาะสม)
  2. สอนให้ลูกรู้จักสิทธิ แยกแยะสัมผัสที่ควรและไม่ควร
    สอนให้ลูกรู้จักสิทธิเด็กที่ตนเองพึงมี เพื่อปกป้องพื้นที่ส่วนตัวและเคารพในสิทธิของผู้อื่น รู้จักแยกแยะระหว่างสัมผัสทั่วไป เช่น ในการเรียนอย่างวิชาพละ การเล่น การทำกิจกรรมร่วมกัน การไปหาหมอ ฯลฯ  กับสัมผัสที่ไม่ปลอดภัย เช่น การแตะต้องที่ทำให้รู้สึกอึดอัด การลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวหรืออวัยวะในร่มผ้าโดยไม่จำเป็น ฯลฯ และอย่าลืมสอนลูกป้องกันตนเองจากคนแปลกหน้า
  3. ไม่บังคับให้ลูกสัมผัส กอด หรือหอมคนอื่น
    แม้จะเป็นการกระทำด้วยความรู้สึกเอ็นดู แต่พ่อแม่ก็ไม่ควรบังคับให้ลูกกอดหรือหอมคนอื่น รวมถึงการยินยอมให้คนอื่นมากอดหรือหอมโดยที่ลูกไม่เต็มใจ แม้จะเป็นญาติก็ตาม เพราะจะทำให้ลูกสับสนว่าควรปกป้องร่างกายตนเองหรือยินยอมให้คนอื่นสัมผัสกันแน่ หากลูกรู้สึกสบายใจที่จะสัมผัสให้ลูกได้ตัดสินด้วยสิทธิในร่างกายของตนเอง ไม่ใช่การบังคับให้ทำตาม
  4. สอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธ
    สอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธเมื่อมีคนมาสัมผัสในพื้นที่ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นคนแปลกหน้าหรือคนรู้จักใกล้ชิดก็ตาม ให้ลูกปฏิเสธด้วยน้ำเสียงจริงจังว่า “ไม่ได้” แล้ววิ่งหนีออกมา รวมถึงการปฏิเสธที่จะอยู่ในที่ลับตาสองต่อสองกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น ครู หรือญาติพี่น้องก็ตาม
  5. สอนให้ลูกบอกพ่อแม่ทันที เมื่อมีคนมาจับหรือโชว์อวัยวะส่วนตัวให้ดู
    เมื่อเกิดเหตุการณ์ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดขึ้น สอนให้ลูกบอกกับคุณพ่อคุณแม่ทันที แม้ผู้กระทำจะเป็นญาติหรือบุคคลใกล้ชิดก็ตาม โดยข้อนี้ค่อนข้างสำคัญ เนื่องจากเด็กมักถูกขู่ว่าไม่ให้บอกพ่อแม่หรือคนอื่น ดังนั้นเมื่อเกิดเรื่องขึ้น เด็กจึงมักไม่กล้าจะบอกกับครอบครัวว่าถูกกระทำ พ่อแม่จึงควรใช้เวลาพูดคุยและสอนให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา การดูแลและการป้องกันตนเอง เพื่อให้ลูกกล้าที่จะพูดคุยเปิดเผยกับพ่อแม่ โดยอาจใช้เป็นหนังสือนิทานเพื่อสื่อสารให้ลูกน้อยเห็นภาพ และย้ำเตือนให้กำลังใจว่าพ่อแม่จะอยู่เคียงข้างลูกเสมอ ดังนั้นอย่ากลัวที่จะบอกกับพ่อแม่เมื่อรู้สึกไม่ปลอดภัย

ในเด็กโต ช่วงวัยรุ่นขึ้นไป พ่อแม่ควรเพิ่มการพูดคุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก วิธีการปฏิบัติตัวและการป้องกันตนเองจากความเสี่ยง ทักษะการปฏิเสธ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิด
ล่วงละเมิดทางเพศ

ทำอย่างไรเมื่อสงสัย หรือทราบว่าเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ

หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก หากเริ่มมีความผิดปกติ เช่น มีร่องรอยฟกช้ำไม่ทราบสาเหตุ, มีอาการเก็บตัว หวาดกลัว ตกใจง่าย, หวาดกลัวบางคน/บางสถานที่เป็นพิเศษ เป็นต้น ให้พ่อแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิดแต่อยู่ในระยะที่ไม่ทำให้เขารู้สึกอึดอัด เพื่อหาทางพูดคุยแก้ไขต่อไป

1. พร้อมรับฟังสิ่งที่ลูกต้องการสื่ออย่างมีสติ
เมื่อเด็กแสดงท่าทีว่าต้องการบอกเล่าเรื่องราวที่เขารู้สึกว่าเป็นปัญหาหรืออยากขอความช่วยเหลือ อย่าผัดผ่อน แต่ให้พร้อมรับฟังอย่างตั้งใจจริง เพื่อให้เขาเกิดความรู้สึกมั่นใจที่จะขอความช่วยเหลือ แม้เรื่องราวจะดูร้ายแรง หรือยากเกินกว่าจะเชื่อได้ แต่ให้รับฟังด้วยอารมณ์สงบ ไม่ตกใจ โกรธ หรือโวยวาย เพราะจะทำให้เด็กยิ่งรู้สึกกลัว และให้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า “เป็นความจริง” ไว้ก่อนเสมอ ไม่โต้แย้งหรือแสดงท่าทีว่าไม่เชื่อ เพราะจะทำให้เด็กไม่อยากเล่าเรื่องราวและขอความช่วยเหลือจากเรา

  1. ถามหาผู้กระทำ แต่ไม่คาดคั้น
    ค่อยๆ ถามไถ่ถึงผู้กระทำ แต่หากเด็กไม่พร้อมที่จะบอกก็อย่าไปคาดคั้นหรือบังคับ ให้สอบถามอย่างใจเย็นเพื่อเก็บรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิด ความสัมพันธ์ของผู้กระทำกับเด็ก เพื่อกำหนดขอบเขตในการสืบหาผู้ต้องสงสัยต่อไป และคอยปลอบโยนเขาอยู่เสมอเพื่อให้รู้สึกปลอดภัยและกล้าที่จะเล่า
  2. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ
    หลังจากคอยฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ให้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ พิจารณาว่าเป็นความจริงหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นเพียงการวิเคราะห์ในเบื้องต้นก่อน ระหว่างนี้พาเด็กไปไว้ในที่ปลอดภัย จากนั้นจึงแจ้งตำรวจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ
  • พบเห็นการทารุณกรรมเด็กทุกรูปแบบ โทรแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300
  • พบเห็นเด็กอายุแรกเกิด ถึง 7 ปี ถูกละเลย ทอดทิ้ง หรือทำร้าย ติดต่อ “แผนกโปรแกรมการเลี้ยงดูเด็ก มูลนิธิเด็กโสสะฯ” โทร 0-2380-1177 ต่อ 412, 413
  • ติดต่อขอความช่วยเหลือเด็กถูกทารุณกรรม มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร 0-2412-1196, 0-2412-0739
  1. พาเด็กไปตรวจรักษา รวบรวมหลักฐาน
    รวบรวมหลักฐานต่างๆ เช่น เสื้อผ้าที่เด็กใส่ขณะถูกล่วงละเมิดทางเพศ สิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้กระทำในที่เกิดเหตุ หากสามารถถ่ายภาพร่องรอยการกระทำไว้ได้ให้ถ่ายไว้เป็นหลักฐาน และบอกเด็กให้เข้าใจว่าเราถ่ายไปใช้ทำอะไรห้าม! นำไปเผยแพร่เด็ดขาด(ยกเว้นใช้ในการสืบสวนคดี) และพาเด็กไปตรวจร่างกาย อาจพาไปเองเพื่อความรวดเร็ว หรือเข้าร่วมกับหน่วยงานที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ เพื่อรวบรวมหลักฐาน ที่สำคัญ ห้าม! ชำระร่างกายเด็กก่อนการตรวจเด็ดขาด เพราะจะหลักให้ร่องรอยหลักฐานสูญหาย ทั้งนี้หากเป็นการถูกกระทำที่ผ่านมานานแล้ว ควรตรวจรักษาเพื่อป้องกันโรคและตรวจสอบการตั้งครรภ์ร่วมด้วย(กรณีเป็นเด็กหญิง)

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese



นายมาโนช ชัยโชค
ผู้อำนวยการกองช่าง
รักษาราชการแทน
 ปลัดเทศบาล

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 034-757727






 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4077
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้2167
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้7246
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว12383
mod_vvisit_counterเดือนนี้4077
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว54559
mod_vvisit_counterทั้งหมด1488709

We have: 37 guests, 8 bots online
IP: 216.73.216.201
วันนี้: ก.ค. 01, 2025

คุณพอใจ เทศบาลตำบลบางกระบือ ด้านใด
























QR Code
ทต.บางกระบือ




ลิขสิทธิ์ © 2558-2563 เทศบาลตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โทร 034-757-675

นโยบายการคุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล