แบบคำขอรับบริการออนไลน์ เทศบาลตำบลบางกระบือ




คลิ๊กที่นี่

 

มลพิษในอากาศ อันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

มลพิษในอากาศ อันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

“มลพิษในอากาศ” อันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

จากข่าวที่พบค่าฝุ่นละอองในกรุงเทพ และปริมณฑลอยู่ในเกณฑ์สูงจนถึงระดับ ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ (อ่านต่อ โซเชียลตื่นตัว ค่าฝุ่นละอองอากาศในกรุงเทพฯ พุ่งสูง แนะใส่หน้ากาก) อาจทำให้หลายคนเริ่มตระหนักถึงภัยอันตรายจากฝุ่นละอองในอากาศมากขึ้น แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ มลพิษทางอากาศยังมีอีกมากมาย ไม่เพียงแค่ฝุ่นละอองตามท้องถนนเท่านั้น แต่ยังมีมลพิษทางอากาศอีกมากมายที่อันตรายต่อสุขภาพ และเราควรใส่ใจให้ความระมัดระวังกับอากาศรอบตัวกันให้มากขึ้นด้วย

มลพิษในอากาศ มีอะไรบ้าง?

  1. ฝุ่นละออง

ฝุ่นละออง เป็นมลพิษในอากาศที่เป็นปัญหาหลักในกรุงเทพมหานคร และชุมชนขนาดใหญ่ จากการวิจัยพบว่าฝุ่นละอองที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ สามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจผ่านโพรงจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอด ทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง และฝุ่นละอองจะมีพิษมากขึ้น หากฝุ่นละอองนั้นเกิดจากการรวมตัวของก๊าซบางชนิด เช่นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจนเข้าไปในอนุภาคของฝุ่น โดยก่อให้เกิดการแพ้ และระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจ และดวงตาได้

  1. สารตะกั่ว

สารตะกั่ว มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท และมีผลต่อกระบวนการรับรู้ และการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์

  1. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ มีความสามารถในการละลายในเลือดได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200 - 250 เท่า เมื่อหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไป จะไปแย่งจับกับฮีโมโกลบินในเลือด เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ทำให้ความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ลดลง ทำให้เลือดขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และหัวใจทำงานหนักขึ้น หากมนุษย์ ได้รับก๊าซนี้ในปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน และจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

  1. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และเยื่อบุตา ทำให้เกิดการแสบจมูก หลอดลม ผิวหนัง และตา เมื่อหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไป จะทำให้ก๊าซละลายในของเหลวในระบบทางเดินหายใจ เกิดเป็นกรดซัลฟิวริก ซึ่งจะกัดกร่อนเยื่อบุ และอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานานๆ จะทำให้เป็นโรคจมูก และหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้

  1. ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน

ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน มีผลต่อระบบการมองเห็น และผู้ที่มีอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไป จะทำให้มีอาการกำเริบขึ้นได้ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศ หากรวมตัวกับไอน้ำ จะสามารถเกิดเป็นกรดไนตริก ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุต่างๆ รวมถึงทางเดินหายใจของมนุษย์

  1. ก๊าซโอโซน

ก๊าซโอโซน มีฤทธิ์กัดกร่อน ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา และเยื่อบุระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อจมูก และปอด ทำให้ความสามารถของปอดในการรับก๊าซออกซิเจนลดลง อาจเกิดโรคหืด โดยเฉพาะในเด็ก และมีอาการเหนื่อยง่าย และเร็ว ในคนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง หรือโรคหืด จะมีอาการมากขึ้นกว่าเดิม

  1. สารอินทรีย์ระเหยง่าย

สารอินทรีย์ที่ระเหยง่าย มีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ โดยทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง นอกจากนี้สารบางชนิดเป็นสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และเสี่ยงต่อการก่อมะเร็ง เช่น polycyclic aromatic hydrocarbons เบนซีนและไดออกซิน (มักเกิดจากการเผาขยะมูลฝอยที่มีพลาสติกปน)

มลพิษในอากาศ กับโรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบบ่อย โดยมีอุบัติการณ์ร้อยละ 30-40 ทั่วโลก ซึ่งมีผู้ป่วยถึง 400 ล้านคนที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ และมีผู้ป่วยถึง 300 ล้านคนที่เป็นโรคหืด อุบัติการณ์ของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยผู้ใหญ่ถึงร้อยละ 20 และมีผู้ป่วยเด็กถึงร้อยละ 40 ขณะที่อุบัติการณ์ของโรคหืดมีประมาณร้อยละ 10 ดังนั้นจะมีผู้ป่วย 10-15 ล้านคนในประเทศไทย ที่ป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และจะมีผู้ป่วย 3-5 ล้านคนที่เป็นโรคหืด

 

อุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ทั้ง 2 ชนิดนี้นี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่มีมลพิษในอากาศเพิ่มขึ้น เชื่อว่าการที่มีปริมาณของมลพิษ และสารระคายเคืองในอากาศมากขึ้น และประชากรสัมผัสกับสารดังกล่าวในอากาศมากขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เนื่องจากเยื่อบุจมูกของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และเยื่อบุหลอดลมของผู้ป่วยโรคหืด มีความไวต่อการกระตุ้นมากผิดปกติ ทั้งสารก่อภูมิแพ้ และสารที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ มลพิษในอากาศทั้ง 7 ชนิดดังกล่าว จึงสามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และโรคหืดมีอาการมากขึ้นได้ 

จะแก้ไขเฉพาะหน้าอย่างไร ในกรณีที่ได้รับสารมลพิษในอากาศปริมาณมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว

  1. ควรรีบออกจากสถานที่ที่มีสารมลพิษในอากาศให้เร็วที่สุด และไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์แต่ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะในความรีบนั้น อาจทำให้ได้รับสารมลพิษในอากาศนั้นมากยิ่งขึ้นได้ ถ้าไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ให้รีบเปิดหน้าต่าง หรือประตูด้านตรงข้ามกับทิศทางลม แต่ปิดหน้าต่าง หรือประตู ด้านที่รับลมเข้าตัวบ้าน เพื่อให้มีอากาศหมุนเวียนเข้าออกได้สะดวก แต่หากเห็นว่าผู้ป่วย หายใจขัดหรือหยุดหายใจ ต้องรีบผายปอด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
  2. ดูอวัยวะที่สารมลพิษในอากาศเข้า เช่น หายใจเข้าคอ, สูดเข้าจมูก, สัมผัสกับผิวหนัง หรือตา เพราะแต่ละช่องทางที่สัมผัสมลพิษ จะเป็นตัวกำหนดการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ถ้าหายใจเข้าคอ ก็ต้องกลั้วคอด้วยน้ำสะอาด แล้วบ้วนทิ้ง อย่ากลืนลงไป, ถ้าสูดเข้าจมูก ควรล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ, ถ้าสัมผัสกับผิวหนัง หรือตาก็ต้องล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือปลอดเชื้อ เป็นต้น
  3. หาอุปกรณ์มาปิดตา, จมูก และปากส่วนที่เสี่ยงเอาไว้ เช่นใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดจมูกและปาก, ใส่แว่นตาสำหรับว่ายน้ำ, หรือใช้หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน
  4. พยายามหาทิศทางลม หากรู้ทิศแล้วจะได้หลบ ไม่ไปอยู่ใต้ลม และควรรีบไปพบแพทย์ทันที

การป้องกัน และลดผลกระทบของมลพิษในอากาศสู่สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ อาจกระทำได้ 3 แนวทางหลัก ๆ คือ

  1. ป้องกัน ควบคุม และลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดเช่น การเลือกใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อยที่สุดการติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์บำบัดมลพิษที่เหมาะสมกับสารมลพิษชนิดนั้นๆ การกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานการระบายสารมลพิษจากแหล่งกำเนิด เป็นต้น ซึ่งวิธีการนี้ถือเป็นการป้องกันปัญหาที่ดีที่สุด
  2. การป้องกันที่ผู้รับเช่น การใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันเขม่าควัน และฝุ่นละออง เมื่อเกิดปัญหาหมอกควันจากการเผาขยะมูลฝอย, ใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันมลพิษประเภทก๊าซต่าง ๆ ซึ่งมักบรรจุผงถ่านคาร์บอนเพื่อดักจับก๊าซไม่ให้เข้าสู่ระบบหายใจ และใส่หน้ากากอนามัยสำหรับการป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆรวมทั้งปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับ และลดผลกระทบจากมลพิษในอากาศ
  3. การเพิ่มระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดมลพิษกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมเช่น การกำหนดพื้นที่แนวกันชน (buffer zone) โดยหลักการ คือการจัดวางผังของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และพื้นที่แนวกันชนให้มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ที่มลพิษที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของโรงงานอุตสาหกรรมจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนน้อยที่สุด

จะเห็นได้ว่า ปัญหามลพิษในอากาศ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น เราต้องช่วยกันดูแลรักษาคุณภาพอากาศเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต โดยหากเป็นผู้ประกอบการหรือมีส่วนในการปล่อยมลพิษ เช่นการขับรถยนต์ ควรร่วมมือในการติดตั้งอุปกรณ์ลดและขจัดมลพิษให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในชีวิตประจำวัน เรามีส่วนที่จะทำให้เกิดปัญหามลพิษในอากาศทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เราจึงควรช่วยกันคนละไม้คนละมือ ซึ่งการปฏิบัตินั้นไม่ยากเกินความสามารถของเราทุกคน เพื่อให้โลกนี้น่าอยู่สำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพวกเราทุกคน

 

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ อันตรายที่ป้องกันได้

มลพิษทางอากาศ หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงได้ยากและเป็นภัยต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือใกล้เขตอุตสาหกรรม ทางที่ดีจึงควรเรียนรู้ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพและวิธีป้องกันที่ถูกต้อง เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายที่มาพร้อมปัญหานี้

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ คือการปนเปื้อนของสารเคมี สารประกอบทางกายภาพ และสารทางชีววิทยาในสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์ ยานพาหนะ การทำอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ไฟป่า โดยสารในมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่ อนุภาคขนาดเล็กที่ถูกกำจัดไม่หมด ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์

มลพิษทางอากาศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

มลพิษทางอากาศภายนอก เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร อาทิ

  • อนุภาคที่เกิดจากการเผาไหม้ของพลังงานเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น
  • ก๊าซพิษ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือไอระเหยจากสารเคมีต่าง ๆ
  • โอโซนระดับพื้นดิน ซึ่งเป็นโอโซนชนิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของหมอกควันที่เป็นพิษในบริเวณตัวเมือง
  • ควันจากยาสูบ ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษและสารก่อความระคายเคือง ส่งผลให้ผู้สูดดมเสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและโรคหอบหืด

มลพิษทางอากาศภายใน เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นภายในอาคารหรือที่พักอาศัย เช่น

  • อนุภาคจากการเผาไหม้ของก๊าซหุงต้ม เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ เรดอน เป็นต้น
  • สารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน
  • สารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น แร่ใยหิน ฟอร์มาดิไฮด์ ตะกั่ว เป็นต้น
  • สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ จากภายในและนอกอาคาร เช่น ฝุ่น สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบและหนู เป็นต้น
  • ควันจากยาสูบ
  • ราและเกสรดอกไม้

นอกจากนี้ สารต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาคารอาจเข้าสู่ภายในอาคารจากการเปิดหน้าต่าง ประตู หรืออุปกรณ์ระบายอากาศได้เช่นกัน

มลพิษทางอากาศส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ ?

มลพิษทางอากาศอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา คอ และปอด โดยหากอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงอาจมีอาการแสบตา ไอ และแน่นหน้าอกได้

อย่างไรก็ตาม อาการที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศของแต่ละคนอาจแสดงออกแตกต่างกัน เด็ก ๆ มักรู้สึกถึงความผิดปกติจากมลพิษทางอากาศได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ แต่จะมีอาการป่วยที่รุนแรงมากกว่า เช่น หลอดลมอักเสบ และอาการปวดหู ผู้ใหญ่บางรายอาจมีอาการรุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง อาจไวต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ รวมทั้งมีอาการได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนทั่วไป

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาพบว่ามลพิษทางอากาศส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายประการ เช่น โรคเกี่ยวระบบทางเดินหายใจอย่างหอบหืดหรือความผิดปกติในการทำงานของปอด โรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด การคลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่การเสียชีวิต นอกจากนี้ ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศภายนอกยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

คุณภาพของอากาศวัดได้อย่างไร ?

ในประเทศไทย คนทั่วไปรับรู้คุณภาพของอากาศได้จากผลวัดที่จัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษ เรียกว่าดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับอากาศที่หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมนำเสนอแก่ประชาชนทั่วไปเป็นระยะ เพื่อให้รับรู้ถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศและความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ และมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ถือว่าเป็นปกติคือ 100 หากสูงกว่าแสดงว่าในอากาศมีความเข้มข้นของมลพิษค่อนข้างสูงหรือสูงมาก โดยเกณฑ์การวัดมีดังนี้

  • 0-50 ใช้สีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับดี และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 51-100 ใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับปานกลาง และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 101-200 ใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร เด็กและผู้สูงอายุไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารนาน ๆ
  • 201-300 ใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคาร เด็กและผู้สูงอายุควรลดการออกกำลังกายนอกอาคาร
  • มากกว่า 300 ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรอยู่แต่ภายในอาคาร บุคคลทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร

วิธีป้องกันมลพิษทางอากาศ

การป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่พึงกระทำเพื่อสุขภาพที่ดี โดยวิธีป้องกันตัวเองและครอบครัวจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศในเบื้องต้น ทำได้ดังต่อไปนี้

การป้องกันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศภายนอก

  • อยู่ภายในอาคารให้มากที่สุดระหว่างวัน และหลีกเลี่ยงการอยู่ภายนอกอาคารบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูงเป็นเวลานาน
  • หากต้องออกไปข้างนอก ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วน อาจออกแต่เช้าตรู่หรือรอหลังพระอาทิตย์ตก เนื่องจากแสงอาทิตย์จะส่งผลให้โอโซนระดับภาคพื้นดินซึ่่งเป็นองค์ประกอบหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองและส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีระดับสูงขึ้น
  • เมื่ออยู่ภายนอกอาคาร ควรหายใจช้า ๆ และอย่าทำกิจกรรมที่ส่งผลให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้ได้รับมลพิษทางอากาศมากขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัยชนิดมีตัวกรอง ซึ่งจะช่วยกรองสารหรืออนุภาคขนาดเล็กออกจากอากาศที่หายใจได้ในระดับหนึ่ง
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจหรือมีปัญหาเกี่ยวกับปอดควรปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

การป้องกันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศภายใน

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ภายในอาคาร
  • วางเตาอบหรือเตาแก๊สในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลีกเลี่ยงการใช้พรม เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมฝุ่น
  • จัดที่พักอาศัยหรือสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบ
  • หากภายในอาคารมีความชื้นสูง ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องลดความชื้น
  • เก็บรองเท้าไว้นอกบ้าน
  • หมั่นทำความสะอาดเพื่อลดฝุ่น
  • เก็บถังขยะให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลง
  • ตรวจสภาพรถและตรวจวัดการปล่อยมลพิษอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดปริมาณการใช้สเปรย์ปรับอากาศ
  • ซักเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนทุกสัปดาห์
  • ใช้พัดลมระบายอากาศภายในห้องน้ำและห้องครัว
  • ใช้เทียนหอมหรือเตาน้ำมันหอมระเหยในบ้านแต่พอเหมาะ

 

แนวทางการจัดการยะ

แนวทางการจัดการแยกขยะ
    กำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิชาการ เช่น การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และการหมักทำปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันในด้านต้นทุนการดำเนินงาน ความพร้อมขององค์กร ปริมาณและประเภทของขยะ เป็นต้น 
 
จัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 5 R คือ
    - Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง
    - Reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง เป็นต้น
    - Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้ 
    - Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ 
    - Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง 
การแยกขยะ เพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น
    - ขยะแห้งบางชนิดที่สามารถแปรสภาพนำมากลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก
    - ขยะเปียกสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 
    - ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องฉีดสเปรย์ ต้องมีวิธีกำจัดที่ปลอดภัย 
ส่งเสริมการผลิตที่สะอาดในภาคการผลิต โดยลดการใช้วัสดุ ลดพลังงาน และลดมลพิษ เพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น 
ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนรวมลงทุนและดำเนินการจัดการขยะ 
ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการ 
รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของตนเอง ในการร่วมมือกันจัดการขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในชุมชน 

ลดโลกร้อน ด้วยวิธีง่าย ๆ

วิธีง่ายๆ ร่วมกันลดโลกร้อน

 
สำคัญที่สุด.. คุณต้องตั้งใจแน่วแน่ว่าจะช่วยหยุดโลกร้อน จำให้ขึ้นใจต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกใช้พลังงานสะอาด
  • อาบน้ำด้วยฝักบัว ประหยัดกว่าตักอาบหรือใช้อ่างอาบน้ำถึงครึ่งหนึ่งในเวลาเพียง 10 นาที ปิดน้ำขณะแปรงฟัน ประหยัดได้เดือนละ 151 ลิตร
  • ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง การทำน้ำร้อนใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลดคาร์บอนไดออกไซด์์ได้ 159  กิโลกรัมต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็นจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 227 กิโลกรัม
  • ใช้หลอดไฟตะเกียบ ประหยัดกว่าหลอดธรรมดา 4 เท่า ใช้งานนานกว่า 8 เท่า แต่ละหลอดช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 4,500 กิโลกรัม หลอดไฟธรรมดาเปลียนพลังงานน้อยกว่า 10% ไปเป็นแสงไฟ ส่วนที่เหลือถูกเปลี่ยนไปเป็นความร้อน เท่ากับสูญพลังงานเปล่าๆ มากกว่า 90%
  • ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะยังคงกินพลังงานมากแม้จะปิดแล้ว ดังนั้นควรถอดปลั๊กโทรทัศน์ สเตอริโอ คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ ฯลฯ เมื่อไม่ใช้ หรือเสียบปลั๊กเข้ากับแผงเสียบปลั๊กที่คอยปิดสวิชท์ไว้เสมอเมื่อไม่ใช้ และควรถอดปลั๊กที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือและ MP3 เมื่อไฟเต็มแล้ว
  • ใช้ตู้เย็นแบบ 2 ประตู ขนาดความจุ 400 ลิตร ตั้งอุณหภูมิที่ 3-5 องศา และ -17 ถึง -15 องศาในช่องแช่แข็ง มีประสิทธิภาพในการประหยัดไฟมากที่สุด
  • เปิดแอร์ที่ 25 องศา อุณหภูมิต่ำกว่านี้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 5 - 10 %
  • ใช้แล็บท็อปจอแบน ประหยัดไฟมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะถึง 5 เท่า จำไว้ สกรีน เซฟเวอร์ และหมวดสแตนบายด์ไม่ได้ช่วยประหยัดไฟ พลังงานที่เสียไปเท่ากับซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ได้ 1 เครื่อง และพริ้นเตอร์เลเซอร์ประหยัดพลังงานมากกว่าอิงค์เจ็ท
  • พกถุงผ้าไปช็อปปิ้ง แทนการใช้ถุงพลาสติก แต่ละปีทั่วโลกทิ้งถุงพลาสติกจากซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแสนล้านใบ อย่าลืมว่า การลดขยะเท่ากับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • ใส่เสื้อผ้าฝ้ายออร์แกนิค และใช้เครื่องใช้รีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้้
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ  เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 545 กิโลกรัมต่อปี
  • ปลูกต้นไม้ 1 ต้นดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตันตลอดอายุขัย และรดน้ำช่วงเช้า และกลางคืน ป้องกันการระเหย
  • กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง เพราะการผลิตเนื้อสัตว์ใช้พลังงานและทรัพยากรมากกว่าการปลูกพืชและธัญพืช 18% ของก๊าซเรือนกระจกมาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ คุณไม่ต้องเป็นมังสวิรัติก็ได้เพื่อที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ลองไม่กินเนื้อสัตว์สัปดาห์ละครั้ง จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มหาศาล
  • เดินแทนขับ พาหนะใช้น้ำมันถึงครึ่งหนึ่งของโลก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 1 ใน 4 ส่วน การทิ้งรถไว้ที่บ้านแม้เพียงสัปดาห์ละ 1 วันสามารถประหยัดน้ำมันและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากมายภายใน 1 ปี ลองเดิน ขี่จักรยาน นั่งรถกับคนอื่น หรือ นั่งรถเมล์หรือรถไฟฟ้าแทน หรือลองดูว่าคุณสามารถทำงานที่บ้านโดยต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่อข่ายของบริษัทสัปดาห์ละครั้งได้หรือไม่
  • เช็คลมยาง ให้แน่ใจว่ายางรถสูบลมแน่นการ ขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ น้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 9 กิโลกรัม ยางที่สูบลมไม่พอจะใช้น้ำมันได้ในระยะทางสั้นลง 5%
  • ลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิลให้มากขึ้น ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งหนึ่งจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซต์ได้ถึง 1,089 กิโลกรัมต่อปี

 

การอนุรักษ์น้ำและประหยัดน้ำภายในบ้าน

การอนุรักษ์น้ำเเละประหยัดน้ำภายในบ้าน

การอนุรักษ์น้ำการอนุรักษ์น้ำ

การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ เป็นสิ่งสำคัญ! รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วปริมาณการใช้น้ำสามารถส่งผลต่อค่าไฟในบ้านโดยตรง อย่างทุกครั้งที่ใช้น้ำร้อน คุณก็ต้องเสียค่าไฟ การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้เปลืองไฟฟ้าแล้ว ยังส่งผลให้เกิดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ในแต่ละวันเราเผลอเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะล้างจานหรือแปรงฟัน ซึ่งล้วนเป็นการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย ความจริงแล้วเราสามารถใช้น้ำอย่างประหยัด และทำตามวิธีการอนุรักษ์น้ำง่ายๆ ด้วยหลากหลายเทคนิคที่เรารวบรวมมาให้คุณทางด้านล่างนี้

คุณควรหมั่นตรวจสอบท่อน้ำ ก๊อก และสายยางต่างๆ เพื่อช่วยในการอนุรักษ์น้ำ เพราะหากมีการชำรุด น้ำจะรั่วไหลออกมา และทำให้คุณเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์

วิธีประหยัดน้ำต่างๆ

  • การอนุรักษ์น้ำที่ง่ายที่สุดคือ การปิดน้ำเมื่อไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ระหว่างการแปรงฟัน หรือระหว่างล้างจาน เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังสามารถประหยัดน้ำ โดยเปลี่ยนมาอาบน้ำฝักบัวที่ใช้น้ำน้อยกว่าการอาบในอ่าง หรือเปลี่ยนมาล้างจานในกะละมังโดยใช้น้ำผสมน้ำยาล้างจาน แทนการล้างแบบให้น้ำไหลผ่านก็สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้เช่นกัน
  • คุณควรใส่เสื้อผ้าลงในเครื่องซักผ้าให้เต็มปริมาณเท่าที่เครื่องรับไหว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำความสะอาดหลายรอบ แต่อย่าใส่เกินเครื่องกำหนด เพราะจะทำให้เครื่องทำงานหนัก จนกินไฟฟ้า และเครื่องเสียได้ อย่าลืมกำจัดคราบสกปรกต่างๆ ก่อนทำการซักทำความสะอาด เพื่อประหยัดเวลา พลังงาน และปริมาณน้ำ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องซักผ้า เพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกอุดตันด้วย
  • เช่นเดียวกับเครื่องซักผ้า คุณควรใส่จานและเครื่องใช้ในครัวให้เต็มเครื่องล้างจาน เพื่อจะได้เป็นการใช้น้ำอย่างประหยัดในการล้างแค่รอบเดียว อย่าลืมเช็ดสิ่งสกปรกฝังแน่นออกจากจานก่อนล่วงหน้า เพื่อที่เครื่องล้างจานจะไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป อย่างไรก็ตามหากมีจานในปริมาณน้อย คุณควรเลือกล้างทำความสะอาดด้วยมือ ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดไฟได้ดีกว่า
  • คุณสามารถประหยัดน้ำ โดยนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น นำน้ำล้างจานหรือน้ำซักผ้าไปล้างรถยนต์หรือรดน้ำต้นไม้ แต่เนื่องจากน้ำที่ผ่านการใช้แล้วอาจมีสารเคมีตกค้างปนเปื้อน ดังนั้นคุณดูให้แน่ใจว่าเป็นน้ำที่จะนำมาใช้นั้นเป็นน้ำสุดท้าย เพื่อให้มีสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ชักโครกเป็นเครื่องสุขภัณฑ์ที่ใช้น้ำในปริมาณมาก คุณสามารถใช้น้ำอย่างประหยัด ได้โดยเลือกกดชักโครกให้เหมาะสม และยังสามารถนำขวดพลาสติกใส่น้ำ ใส่ลงไปในแทงก์น้ำด้านหลังชักโครก เพื่อลดประมาณน้ำเข้าออกอีกด้วย และอย่าลืมดูให้มั่นใจว่าท่อน้ำมันรั่วหรือชำรุดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่วไหลออกมา

การอนุรักษ์น้ำไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณรู้จักวิธีใช้น้ำอย่างประหยัดที่ถูกต้องเหมาะสม ลองทำตามวิธี ประหยัดน้ำต่างๆ ที่เราได้รวบรวมมาให้ข้างต้น แค่นี้คุณก็สามารถช่วยในการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ รวมไปถึงช่วยการอนุรักษ์น้ำ และรักษาสิ่งแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน

  • กำจัดคราบสกปรกต่างๆ ก่อนทำการซักทำความสะอาด
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ซักผ้าในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ล้างออกได้ในน้ำเดียว เช่น คอมฟอร์ท
  • หมั่นทำความสะอาดเครื่องซักผ้า เพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกอุดตัน จนทำให้เครื่องซักผ้าเสียหายได้

 

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese



นายมาโนช ชัยโชค
ผู้อำนวยการกองช่าง
รักษาราชการแทน
 ปลัดเทศบาล

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 034-757727






 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้5179
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้2167
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้8348
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว12383
mod_vvisit_counterเดือนนี้5179
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว54559
mod_vvisit_counterทั้งหมด1489811

We have: 30 guests, 14 bots online
IP: 216.73.216.201
วันนี้: ก.ค. 01, 2025

คุณพอใจ เทศบาลตำบลบางกระบือ ด้านใด
























QR Code
ทต.บางกระบือ




ลิขสิทธิ์ © 2558-2563 เทศบาลตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โทร 034-757-675

นโยบายการคุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล