วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2024 เวลา 09:50 น.
เขียนโดย งานสวัสดิการสังคม
เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย และประสบอุบัติเหตุจนถึงขั้นทุพพลภาพก็หายห่วง เจ็บหนักแค่ไหน สำนักงานประกันสังคมก็พร้อมดูแลตลอดชีวิต
โดยจะมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์อะไรบ้างที่จะได้รับ
เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีทุพพลภาพ
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนทุพพลภาพ
1. เงินทดแทนกรณีขาดรายได้
กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง
(การสูญเสียตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป) ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เป็นรายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง
(การสูญเสียตั้งแต่ร้อยละ 35-49) ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 30 หรือในส่วนที่ลดลง แต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 เดือน ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
2. ค่าบริการทางการแพทย์
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
เข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐ
* ผู้ป่วยนอก เบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
* ผู้ป่วยใน ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสถานพยาบาลจะเป็นผู้เบิกจากสำนักงานประกันสังคมโดยตรง โดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs)
เข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของเอกชน
* ผู้ป่วยนอก เบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
* ผู้ป่วยใน เบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
* กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนอื่นที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่งที่มิใช่สถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤต ภายใน 72 ชั่วโมง (นับรวมวันหยุดราชการ) ให้แก่สถานพยาบาลที่รักษาตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์กำหนด
* การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
* ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ผู้ทุพพลภาพหรือสถานพยาบาลเบิกได้ตามความจำเป็นจากสำนักงานประกันสังคม ตามหลักเกณฑ์ ประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
* ค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ จ่ายตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และอัตราค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ
ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับ-ส่ง ผู้ทุพพลภาพกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
3. ค่าทำศพ
กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
เงินสงเคราะห์ กรณีเมื่อผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเสียชีวิตจะได้รับตามเงื่อนไขดังนี้
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
เอกสารสำคัญในการยื่นเรื่อง
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ
สำเนาเวชระเบียน
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- PromptPay (พร้อมเพย์) เลขบัตรประจำตัวประชาชน
ผู้ประกันตนอุ่นใจหายห่วงแน่นอน เพราะเจ็บหนักแค่ไหน
สำนักงานประกันสังคมก็คอยห่วงใยดูแลตลอดชีวิตแน่นอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่