แบบคำขอรับบริการออนไลน์ เทศบาลตำบลบางกระบือ




คลิ๊กที่นี่

 

1413 สายด่วนเลิกเหล้า แจกวิธีรับมือเมื่อคนในครอบครัวของคุณติดเหล้า ควรทำอย่างไรดี

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

1413 สายด่วนเลิกเหล้า แจกวิธีรับมือเมื่อคนในครอบครัวของคุณติดเหล้า ควรทำอย่างไรดี 

หากคนในครอบครัวของคุณเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเหล้าในเวลาเดิมซ้ำ ๆ หรือมักจะมีเหล้าไว้ตลอดเวลา ดื่มแทนน้ำเปล่า หรือมีการดื่มก่อนนอนด้วยสาเหตุต่าง ๆ มากมายอาจเป็นสํญญาณที่บ่งบอกว่าคนในครอบครัวของคุณเสี่ยงเข้าภาวะติดสุราแล้วในฐานะคนในครอบครัว จะมีวิธีการรับมืออย่างไรให้ปลอดภัยทั้งผู้ดื่มและญาติ วันนี้เรามีวิธีมาบอกแล้ว

1. ใช้ถ้อยคำที่อ่อนโยน และไม่ว่ากล่าวหรือตำหนิให้เปิดใจคุยกับผู้ดื่มถึงสาเหตุของการดื่มเหล้าเป็นประจำอย่างตรงไปตรงมา และไม่ควรใช้ถ้อยคำตำหนิ เพราะอาจทำให้สัมพันธ์ในครอบครัวนั้นแย่ลงได้

2. รับฟังอย่างเข้าใจเมื่อมีโอกาสได้พูดคุยแล้ว เราต้องรับฟังและไม่ตัดสินปัญหาของผู้ดื่มโดยทันที เพื่อให้ผู้ดื่มรู้สึกปลอดภัยกับคนในครอบครัว

3. มองหาหน่วยงานเพื่อเข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็วที่สุดคือการโทร.เข้ามาที่ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า นอกจากเราจะคอยให้คำปรึกษาทั้งผู้ดื่มและญาติแล้ว เรายังสามารถแจ้งพิกัดของสถานบำบัด เพื่อให้ผู้ดื่มทุกรายได้เข้ารับกระบวนการบำบัดอย่างปลอดภัยและถูกต้อง

4. ดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของตัวเองรวมถึงคนในครอบครัวเพราะอาการที่เกิดขึ้นจากการมึนเมา อาจส่งผลทำให้สภาพแวดล้อมภายในครอบครัวแย่ลง เพราะฉะนั้นหากไม่สามารถรับมือได้ ญาติเองก็ควรได้รับการดูแลสภาพจิตใจและร่างกายเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการรับมือกับความเครียดก็ได้เช่นกัน

ทุกปัญหามีทางแก้เสมอ สำหรับใครที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้อยู่ สามารถโทร.ขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของ 1413 สายด่วนเลิกเหล้าได้เลย ทางเราพร้อมและยินดีช่วยเหลือประชาชน

1413 เราคือเพื่อนที่พร้อมอยู่เคียงข้างคุณ

???? ต้องการเลิกเหล้าโทร.เข้า 1413

 

3 ธันวาคม วันคนพิการสากล

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ

3 ธันวาคม วันคนพิการสากล

เพื่อตระหนักถึงศักดิ์ศรีของคนพิการ และตื่นตัวในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ รวมถึงสนับสนุนการสร้างเสริมศักยภาพของคนพิการ เปิดโอกาสให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียม
5 กระทรวง กรุงเทพมหานคร และ UNFPA ร่วมเปิดตัวโครงการ “เมืองใจดี ปักหมุดเพื่อคนที่คุณรัก” สสส. หนุนเสริม แพลตฟอร์ม “เมืองใจดี” เพิ่มโอกาสให้ผู้สูงอายุ-คนพิการเข้าถึงสถานที่สาธารณะอย่างสะดวก-เท่าเทียม-ปลอดภัย
ติดตามเรื่องราวที่ >> https://www.thaihealth.or.th/?p=371300
#สสส #Thaihealth #สื่อสารสุข #วันคนพิการสากล

สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ครั้งที่ 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ วัดศรีศรัทธาธรรม ตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

อาจเป็นกราฟิกรูป พริคลีแพร์ และ ข้อความพูดว่า "1ው! จังหวัดสมุทรสงครามขอเชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ใผนระธานุเ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช વ สยามมกฏราชกุมาร ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2568 วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 u. เป็นต้นไป ณ วัดศรีศรัทราธรรม ต. คลองเซิน อ. เมืองสมุทรสงคราม จ. สมุทรสงคราม วินักฟือ กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย บริการไห้ความูแะ้ไ้ไ้า ชากหน่อางังสักรกระ รนึกร่งเสรี อินิกปตุวี ดวินิกด้ง วีนักซ้าว นักประม AAN 用料 จลินักเกษตร រំបិរិ៥. บริการ..ฟรี ฟรี 2 ทำหมันสุนัขและแมว จำนวน ตัว* (ครัวเรือนละไม่เกิน2 ตัว) พร้อมวัคซีนพิษสขัขบน้าไม่ำกัดจำน ปิตรับองทะเบียนล่วงหน้าณะ คลองเงนจำนวน 0 ตรวจวัดคุณภาพดิน ตรวจวัดคุณภาพนำ บริการตรวจสารพิษตกล้างในเลือด และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย 3 และหน้างาน จำนวน ตัว) *กรุณนางดน้ำและอาหาร ก่อนน้ำสิตว์เลียงของท่านมาทำม 6-8 การสาธิตด้านการเกษตร แจกฟรี เอกสารวิชาการต้านการเกษตร ครอบคลุบทุกด้าน กิ่งพันธุ์ไม้ผล กล้าพันธุ์ผัก ก้อนเชื้อเห็ด ปุ๋ยมูลไลเดือน เมล็ดพันธุ์พืช น้ำหมักชีวภาพ เชื้อไตรโครเดอร์มา และอื่นๆอีกมากมาย •กิจกรรมสาริตารทำป๋มลไส้เด การทำก้อนเชื้อเห็ต สากริดการเปรูปอาหารจากปลาหบอคางด การทำกล้วยลอยแก้ว *อย่าลืม!! บัตรประชาชน สำหรับลงทะเบียนเช้าร่วมงาน สถานที่ตัดงาน แต่งภายด้วยชุดสุภาพ โทนสีเหลือง การจัดจำหน่ายสินค้าภายในงาน สินค้ารงฟ้าราคาพิเศษ สินค้าจากร้าบวิสาหคิจขุชนผหิ้นท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดสนุทรสงคราม โทร ns034-711711 034-7 และสำนักงานเกษดรอำเกอกกอำเภอ"

สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ขอเชิญร่วมงาน
???? คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1
???? ในวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ วัดศรีศรัทธาธรรม ตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

กรมกิจการผู้สูงอายุ เชิญชวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะความรู้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง รูปแบบออนไลน์

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

กรมกิจการผู้สูงอายุ เชิญชวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะความรู้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง
รูปแบบออนไลน์
???? ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย !!!!!
✅ระหว่างวันที่ 16 - 17 ธันวาคม 2567 ผ่านระบบ Zoom meeting
✅สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 3 - 10 ธันวาคม 2567 รับจำนวนจำกัดเพียง 500 คนเท่านั้น
✅ลิงค์ลงทะเบียน : https://docs.google.com/.../1FAIpQLSe9sOPXi4VtGl.../viewform
https://www.dop.go.th/thai/news/1/5339

ครม. ไฟเขียวเงินอุดหนุนเด็กตั้งแต่อายุครรภ์ 4 เดือน - 6 ปี ให้ 600บาท/คน พร้อมเคาะเกณฑ์ปรับเพิ่ม “เบี้ยผู้สูงอายุ-คนพิการ”

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ

ครม. ไฟเขียวเงินอุดหนุนเด็กตั้งแต่อายุครรภ์ 4 เดือน - 6 ปี ให้ 600บาท/คน พร้อมเคาะเกณฑ์ปรับเพิ่ม “เบี้ยผู้สูงอายุ-คนพิการ”

(29 พ.ย. 67) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (ก.ส.ค.) เสนอ
สาระสำคัญ
กระทรวง พม. โดย ก.ส.ค. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับส่วนราชการระดับภูมิภาค จังหวัด และภาคีเครือข่าย รวมทั้งจัดประชุมร่วมกับหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคมและที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” ตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเด็กและเยาวชน 2) กลุ่มผู้สูงอายุ 3) กลุ่มคนพิการ 4) กลุ่มวัยแรงงาน และ 5) สวัสดิการสำหรับครอบครัว โดยคำนึงถึงมาตรฐานขั้นต่ำของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งพิจารณามาจากความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิตของคนตลอดช่วงวัย และนำมาเทียบเคียงกับสวัสดิการที่รัฐจัดให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนทุกช่วงวัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม

สรุปสาระสำคัญของข้อเสนอฯ ตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มเด็กและเยาวชน
ปรับฐานกลุ่มเป้าหมาย /ขยายอายุเด็กให้ครอบคลุมตั้งแต่
1.1ปรับฐานกลุ่มเป้าหมายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการให้เงินอุดหนุนแบบถ้วนหน้าโดยไม่ต้องมีการคัดกรองรายได้ของครอบครัว (เดิมครัวเรือนต้องมีสมาชิกที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี) เพื่อให้ครอบคลุมและทำให้เด็กได้รับความช่วยเหลือแบบถ้วนหน้า ไม่ตกหล่น
1.2ขยายอายุของเด็กให้ครอบคลุม เริ่มจากเด็กในครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 6 ปี (เดิมตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ปี) ได้รับเงินในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน (เท่าเดิม) เพื่อเป็นหลักประกันว่าเด็กทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แม้ครอบครัวจะมีรายได้ลดลง
แนวทางการขับเคลื่อน
- ผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอในการขยายเงินอุดหนุนฯ ให้ครอบคลุมแบบถ้วนหน้าและขยายอายุของเด็กตั้งแต่ครรภ์ 4 เดือน- 6 ปี ในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน
- พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพฐานข้อมูลโครงการเงินอุดหนุนฯ รองรับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถรองรับกลุ่มเป้าหมายทุกคน จุดเด่นคือผู้ปกครองสามารถยื่นขอรับสิทธิผ่าน Mobile Application เงินเด็ก ซึ่งเชื่อมโยงกับข้อมูล ทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวตนของผู้รับสิทธิ ลดความผิดพลาดในการนำเข้าข้อมูล ลดจำนวนเอกสาร และลดระยะเวลาการดำเนินการ
- เชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เชื่อมโยงฐานข้อมูล สธ. เพื่อติดตามการเข้าสู่การคัดกรองพัฒนาการของเด็ก ภาวะโภชนาการ การได้รับวัคซีน การดื่มนมแม่ และการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขด้านอื่น ๆ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับ ศธ. เพื่อติดตามการเข้าสู่ระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไปที่อยู่ในสังกัด ศธ. ที่เข้ารับบริการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
- เพิ่มช่องทางการคืนเงิน กรณีครอบครัวที่ไม่ประสงค์รับเงินอุดหนุนฯ และนำเงินมาใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับเด็ก
2.พัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อขยายระยะเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 15 ปี รวมถึงพัฒนาการศึกษาทั้งในส่วนของหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและมีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งในกรณีเด็กที่หลุดออกจากระบบในช่วงส่งต่อการศึกษา ควรมีสวัสดิการในการแนะแนวอาชีพและให้คำปรึกษา
- ควรมีการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อขยายระยะเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 15 ปี เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมาตรา 17 บัญญัติให้มีการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 9 ปี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายสิทธิสวัสดิการการศึกษาให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากเดิม เช่น เรียนฟรี อุปกรณ์ฟรี อาหารฟรี ร่วมกิจกรรมฟรี ฟรีรถรับส่ง
- ทบทวนการจัดสรรงบประมาณรายหัวสำหรับนักเรียน และเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
- เพิ่มเติมสวัสดิการในการดูแลเด็กและเยาวชนช่วงหลังเลิกเรียนและวันหยุด โดยการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนทั้งในพื้นที่จริงและสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อให้เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม เกิดการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนกลายเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ
- ติดตามประเมินผลการจัดสวัสดิการสังคมด้านการศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นผลตอบแทนเชิงสังคมที่เกิดจากการลงทุนด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาสวัสดิการด้านการศึกษาให้ได้มาตรฐานมากขึ้น

กลุ่มผู้สูงอายุ
1. การปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได
•อายุ 60 - 69 ปี เดือนละ 700 บาท
•อายุ 70 - 79 ปี เดือนละ 850 บาท
•อายุ 80 - 89 ปี เดือนละ 1,000 บาท
•อายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไป เดือนละ 1,250 บาท
เพื่อให้เพียงพอต่อค่าครองชีพของผู้สูงอายุในปัจจุบัน สำหรับประมาณการงบฯ ที่ต้องใช้ในกรณีปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าวในปี 2567 เป็นเงิน 123,353 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นทุกปีจนถึงปี 2573 เป็นเงิน 152,903 ล้านบาท
- การผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอในการปรับเบี้ยผู้สูงอายุแบบขั้นบันได
- การพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลในการเข้าถึงและจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบันและอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ
- การเพิ่มช่องทางการคืนเงิน กรณีผู้สูงอายุไม่ประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และนำเงินมาใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุ
2. ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ของชุมชน(Community Center) สำหรับทุกช่วงวัย โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการดูแลคนทุกช่วงวัยให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- ควรร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น อปท. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คนในชุมชน ผู้สูงอายุ ในการส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งศูนย์ของชุมชน โดยร่วมกันออกแบบโครงสร้าง แนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนทุกช่วงวัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยชุมชนดูแลกันเอง เน้นการใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชน เช่น โรงเรียนที่ปิดตัวไม่มีการเปิดการเรียนการสอนมาเป็นพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์
- ควรมีหน่วยงานในพื้นที่ทำหน้าที่ประสานและมีรถรับส่งผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในศูนย์ของชุมชนหรือในชุมชนไปยังสถานพยาบาล
3. การส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสม ตามกฎหมายแรงงาน ได้กำหนดอายุ วัยแรงงานตั้งแต่ 15 - 60 ปี แต่หากผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีศักยภาพและกำลังในการทำงานหลังครบกำหนดอายุตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายคุ้มครองแรงงานควรกำหนดให้มีการรับรองสิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุเพื่อคุ้มครองเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานและสภาพการจ้างงาน เช่น งานและสถานที่อันตรายที่ห้ามผู้สูงอายุทำงาน ชั่วโมงการทำงานต่อวันและต่อสัปดาห์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... โดยหมายรวมถึงผู้สูงอายุด้วย แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใช้
- การผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....
ในการคุ้มครองแรงงานอิสระที่เป็นแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม
- การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการจ้างงานแรงงานผู้สูงอายุ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีให้สถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุ
- ควรสร้างและฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

กลุ่มคนพิการ
1. การปรับเบี้ยความพิการให้สอดคล้องกับค่า
ครองชีพเป็น 1,000 บาท แบบถ้วนหน้าโดยดำเนินการควบคู่ไปกับการนำคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม และเป็นธรรม
- การผลักดันข้อเสนอเชิงในการปรับเบี้ยความพิการให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ
- การทบทวนคำนิยาม “คนพิการ” ให้ชัดเจนและทุกหน่วยงานใช้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันในการทำงาน
- การปรับลดขั้นตอน/กระบวนการสำหรับการขอบัตรประจำตัวคนพิการและขอรับเบี้ยความพิการ โดยให้บริการแบบครบวงจรมีระบบ One Stop Service
- การออกใบรับรองความพิการผ่านแอปพลิเคชัน โดยให้เชื่อมกับแอปพลิเคชันสุขภาพที่มีอยู่
2. การส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการเพิ่มมากขึ้นควรเริ่มจากการปรับทัศนคติของผู้ประกอบการ ในการพิจารณาศักยภาพในการทำงานของคนพิการอย่างเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติจากความบกพร่องด้านความพิการ
- มีการกำหนดหรือปรับปรุงกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติในการทำงานที่ชัดเจน และทำให้คนพิการมีโอกาสเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิการถูกจ้างงาน
- การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อสิทธิในการเดินทาง/คมนาคมและบริการสาธารณะ สิทธิในการเข้าถึงที่พักอาศัย สินค้าและสิทธิในการติดต่อทางโทรคมนาคมเพื่อรองรับการเดินทางไปประกอบอาชีพของคนพิการให้เป็นไปด้วยความสะดวก
- ควรสร้างและฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภทความพิการและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
- ควรส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนรับคนพิการเข้าทำงาน
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการด้านกายอุปกรณ์ ที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูและดูแลตนเองที่บ้าน รวมทั้ง การบริการด้านการศึกษา สาธารณสุข และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ไม่สามารถตอบโจทย์ความพิการแต่ละประเภท
- การส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้ง “ธนาคารกายอุปกรณ์” ให้ยืมอุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้มีความจำเป็นในระดับจังหวัดให้มีความครอบคลุมทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบการให้บริการในการขอรับกายอุปกรณ์ให้มีความสะดวกสบาย และเอื้อต่อผู้มาขอรับบริการ โดยให้ชุมชนดูแลกันเอง
- การส่งเสริมให้มีสถานที่พักพิงชั่วคราวในการฝากดูแลคนพิการผู้สูงอายุ และผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น อปท. จัดสถานที่สำหรับดูแลคนพิการในชุมชนโดยมีอาสาสมัครซึ่งเป็นคนในชุมชนมาช่วยดูแลโดยอาสาสมัครต้องได้รับการฝึกอบรมการดูแลคนพิการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ตามประเภทความพิการ และได้รับค่าตอบแทนเหมือนกับอาสาสมัครหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข
กลุ่มวัยแรงงาน
1. การยกระดับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบโดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและขยายสิทธิประกันสังคมที่ตรงตามความต้องการของแรงงานนอกระบบ
- การปรับปรุงสถานภาพทางกฎหมายของแรงงานรูปแบบใหม่ในอนาคต (Gig Worker) ผ่านการปรับปรุงนิยามของผู้รับจ้างและลูกจ้าง โดยคำว่าลูกจ้างครอบคลุมถึงผู้รับจ้างบางกลุ่ม เช่น แรงงาน Gig Worker หรือการจัดประเภทแรงงานให้ชัดเจนว่าเป็นแรงงานประเภทใด หรือการจัดประเภทแรงงานเหล่านี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้แรงงานกลุ่มนี้เข้าถึงความคุ้มครองทั้งทางกฎหมายและทางสังคม
- การปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจแรงงานนอกระบบ/แรงงาน Gig Worker ให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์มาตรา 40 จากเดิมมี 3 ทางเลือกให้มีทางเลือกมากขึ้น
- การศึกษาความเป็นไปได้ด้านงบประมาณและคำนวณงบประมาณคาดการณ์ที่จะใช้สำหรับการเพิ่มสิทธิประโยชน์
2. การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมุ่งเน้น
การพัฒนาทักษะ (Re-skill) ยกระดับทักษะ (Up-Skill) เทคโนโลยีสารสนเทศ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องดิจิทัล เพื่อให้การทำงานของลูกจ้างตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบกิจการ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด
-จัดทำหลักสูตรการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ตลาดแรงงาน และโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบัน
โดยต้องมุ่งเน้นที่จะพัฒนาทักษะที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) ทักษะการเรียนรู้ 2) ทักษะด้านดิจิทัล และ 3) ทักษะทางด้านชีวิต สังคม และอาชีพ และใช้โปรแกรมประเมินข้อมูลรายบุคคล เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพว่าแต่ละคนเหมาะกับงานแบบใด เพื่อให้ได้งานที่เหมาะสมกับทักษะ รวมถึงให้ประกาศนียบัตรเพื่อรับรองผู้เข้าอบรมว่าสามารถทำงานได้จริง

สวัสดิการสำหรับครอบครัว
พัฒนา “แนวทางสวัสดิการบริการสนับสนุนครอบครัว (Family Support Service)” โดยให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับรูปแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน ออกแบบสวัสดิการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของครอบครัวแต่ละประเภท เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวสามารถเข้าถึง ได้รับสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
- ทบทวนคำนิยามและมุมมองต่อ “ครอบครัว” ให้ครอบคลุมครอบครัวทุกประเภท เพื่อให้สามารถกำหนดกรอบสวัสดิการสำหรับครอบครัวได้อย่างชัดเจน
- การอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้กับครอบครัวที่มีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในลักษณะของ In-Horne Care (การดูแลที่บ้าน) เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจนสามารถฟื้นคืนภาวะปกติ หรือลดความเสี่ยงต่ออาการในระดับที่รุนแรงขึ้น
- ส่งเสริมและเสริมพลังให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและมีบทบาทในการดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ถูกต้อง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
- พัฒนาและออกแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับรูปแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน
- จัดบริการสังคมที่เหมาะสมกับครอบครัว

ประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบายฯ
•ประชาชนทุกช่วงวัย เช่น เด็กและเยาวชน วัยแรงงาน ผู้สูงอายุ คนพิการได้รับการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้
•มีกลไกท้องถิ่น ท้องที่ และภาคประชาสังคมเป็นฐานในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับครอบครัวและคนทุกช่วงวัย

#ครมไฟเขียวเงินอุดหนุนเด็กตั้งแต่อายุครรภ์4เดือนถึง6ปี ให้600บาทต่อคน #พม #กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese






















 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้598
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้2068
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้11040
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว21968
mod_vvisit_counterเดือนนี้11040
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว72260
mod_vvisit_counterทั้งหมด942796

We have: 55 guests, 1 members, 4 bots online
IP: 18.97.9.170
วันนี้: ธ.ค. 04, 2024

คุณพอใจ เทศบาลตำบลบางกระบือ ด้านใด







 



































QR Code
ทต.บางกระบือ



ลิขสิทธิ์ © 2558-2563 เทศบาลตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โทร 034-757-675

นโยบายการคุัมครองข้อมูลส่วนบุคคล